การตีตราหรือ Branding เพื่อทำเครื่องหมายบนตัวสัตว์ เช่น ม้า วัว ได้พัฒนาจากการใช้เหล็กเผาไฟนาบให้เกิดแผล มาเป็นใช้ความเย็นจัด ทำให้ต่อมสีขนสัตว์ถูกทำลาย เปลี่ยนสีขนให้เป็นรูปตราที่ต้องการ เหตุผลหลัก น่าจะมีสองประการ สัตว์ไม่เจ็บปวดมาก และ หนังสัตว์ไม่มีรอยแผลเป็น
ต้องขอขอบคุณ คุณ Ekkachai Bunchan ที่อนุญาตให้เผยแพร่บทความนี้ครับ ลองอ่านบทความของท่านดูได้เลยครับ
หลังจากเจอของร้อนๆจากกระทู้การตีเบอร์ร้อนไปแล้ว เรามาตบตูดด้วยของเย็นๆให้หายชื่นใจกันดีกว่านะครับ
การตีเบอร์เย็น
จะนิยมทำในช่วงลูกโคหย่านมซึ่งมีอายุได้ประมาณ 7 เดือนเช่นเดียวกับการตีเบอร์ร้อน เป็นวิธีการที่สามารถแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดจากการตีเบอร์ร้อนซึ่งทำให้เกิด แผลมีตำหนิบนผิวหนัง ความเจ็บปวด และทรมานทารุณสัตว์ได้ เหมาะสำหรับใช้กับโคที่มีขนสีดำ ส่วนใหญ่จะนิยมทำในกลุ่มผู้เลี้ยงโคนม เพราะว่ารอยที่เกิดจากการตีเบอร์เย็นจะเป็นสีขาวครับ
โดยอาศัยความเย็นจัดทำให้เซลล์ที่ทำหน้าที่ผลิตสีขนเสื่อมสภาพลง ส่งผลให้ขนที่งอกขึ้นมาใหม่ไม่มีสี ความเย็นจัดดังกล่าวได้มาจากการใช้น้ำแข็งแห้ง(อุณหภูมิ – 79 องศาเซลเซียส) และไนโตรเจนเหลว(อุณหภูมิ – 196 องศาเซลเซียส) โดยอาศัยโลหะเป็นสื่อนำความเย็น
โลหะที่นิยมใช้จะต้องมีคุณสมบัติทั้งนำความร้อนได้ดีและเก็บความเย็นได้ ดีเช่นกัน ได้แก่ เหล็กกล้า ทองแดง ทองเหลือง และทองสัมฤทธิ์ แต่มีการทดลองพบว่า โลหะทองแดงสามารถใช้ได้ผลดีที่สุด
โลหะที่นำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ ตัวอักษร หรือตัวเลขควรมาจากวิธีการหล่อ และควรมีความหนากว่าโลหะที่ใช้ตีเบอร์ร้อน เพื่อที่จะได้เก็บความเย็นเอาไว้นานๆ โดยเลขเบอร์ที่มีผิวหน้าสัมผัสโค้งมนจะใช้งานได้ดีกว่าเลขเบอร์ที่มีผิวหน้า สัมผัสแบนราบ
ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนว่าในกระทู้นี้จะมีอยู่ 2 เวอร์ชั่นครับ คือ แบบไทยประดิษฐ์ กับ แบบฝรั่งจ๋า
โดยแบบไทยประดิษฐ์จะเป็นการบังคับสัตว์ด้วยวิธีล้มเชือก เอื้อเฟื้อภาพโดย คุณสัญญา แห่ง หจก.พรชัยอินเตอร์เทรด
ส่วนแบบฝรั่งจ๋าจะเป็นการบังคับสัตว์ด้วยการใช้ซองบังคับ
ขั้นตอนการตีเบอร์เย็น
1.เตรียมสถานที่ที่จะตีเบอร์ให้แห้งและสะอาด ถ้าทำในคอกที่มีหลังคาได้ยิ่งดี และต้อนโคมารวมไว้ในคอกเดียวกัน
2.เลือกตัวทำความเย็นตามความสะดวกและเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ถ้าใช้น้ำแข็งแห้งจะต้องมีของเหลวเป็นตัวนำความเย็นจากน้ำแข็งแห้งไปสู่โลหะ อีกทอดหนึ่ง
ของเหลวที่นิยมใช้คือ แอลกอฮอล์(จะเป็นเอททิลแอลกอฮอล์ หรือ เมททิลแอลกอฮอล์ก็ได้) โดยต้องใช้จำนวนมากเป็นปี๊บเลยล่ะครับ
สำหรับผู้ที่เลือกใช้ไนโตรเจนเหลวนั้นสามารถนำมาใช้งานได้ทันที เพราะว่าอยู่ในรูปของเหลวอยู่แล้ว ไนโตรเจนเหลวดังกล่าวก็คือชนิดเดียวกันกับที่ใช้เก็บรักษาน้ำเชื้อแช่แข็ง ทั่วไป
3.จัดหาภาชนะใส่ตัวทำความเย็นสำหรับแช่โลหะตีเบอร์ ถ้าใช้น้ำแข็งแห้งเป็นตัวทำความเย็นควรใช้ภาชนะที่เป็นถังมีลักษณะเป็นทรง ยาว มีช่องสำหรับแช่โลหะตีเบอร์แบ่งออกเป็นช่องเรียงกันตามยาว ตัวถังควรมีความหนาหุ้มด้วยฉนวนกันความร้อนและมีฝาปิดด้านบน เพื่อป้องกันรังสีความร้อนจากภายนอก และช่วยให้น้ำแข็งแห้งระเหยช้าลง
แต่ถ้าใช้ไนโตรเจนเหลวเป็นตัวทำความเย็นจะต้องใช้ถังเฉพาะ ซึ่งมีราคาแพง เนื่องจากไนโตรเจนเหลวสามารถระเหยได้เร็วมาก ถ้าหากไม่มีทางเลือกต้องใช้ถังแบบเดียวกับที่ใช้บรรจุน้ำแข็งแห้งก็จะทำให้ สิ้นเปลืองไนโตรเจนเหลวพอสมควร อย่างไรก็ดีเพื่อเป็นการช่วยบรรเทาการระเหยลงบ้าง ให้นำฉนวนกันความร้อนมาหุ้มถังบรรจุไนโตรเจนเหลวเพิ่มมากขึ้น หรือถ้ามีไนโตรเจนเหลวอย่างเพียงพอก็ให้ใช้กล่องโฟมแบบใส่อาหารเครื่องดื่ม แทนก็ได้ ทั้งนี้ควรติดตั้งปรอทวัดอุณหภูมิเอาไว้ด้วย เนื่องจากก่อนตีเบอร์ทุกครั้งควรให้โลหะได้รับความเย็นตามอุณหภูมิที่กำหนด
4.เทแอลกอฮอล์หรือไนโตรเจนเหลวลงไปในถังบรรจุ โดยกะประมาณว่าให้ท่วมส่วนของสัญลักษณ์ ตัวอักษร หรือตัวเลขพอดิบพอดี ในส่วนของผู้ที่ต้องการใช้ไนโตรเจนเหลวนั้นก็อยู่ในสภาพที่พร้อมอยู่แล้วจึง สามารถนำไปใช้งานได้เลย
แต่สำหรับผู้ที่ต้องการใช้น้ำแข็งแห้งนั้นหลังจากที่เทแอลกอฮอล์ลงไปแล้ว ให้ทุบก้อนน้ำแข็งแห้งเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยหรือให้มีขนาดประมาณ 0.5 – 1 ลูกบาศก์นิ้ว แล้วค่อยๆใส่ลงไปเรื่อยๆจนส่วนผสมเริ่มมีอุณหภูมิต่ำลงกว่า – 70 องศาเซลเซียส นำปรอทมาวัดระดับอุณหภูมิเพื่อตรวจสอบว่ามีความเย็นเพียงพอแล้วหรือยัง
5. จุ่มส่วนที่เป็นสัญลักษณ์ ตัวอักษร หรือตัวเลขลงไปในถัง จะสังเกตเห็นฟองอากาศปุดขึ้นมา แสดงว่ากำลังเกิดการถ่ายเทความเย็นจากสารละลายของเหลวเข้าสู่โลหะอยู่ รอจนกว่าฟองเหล่านั้นค่อยๆหมดลงซึ่งหมายความว่าโลหะตีเบอร์มีความเย็นเท่า กับสารละลายของเหลวแล้ว กระบวนการนี้จะกินเวลาประมาณ 20 นาที
6.จัดการบังคับโคแบบเดียวกับการตีเบอร์ร้อน จะใช้วิธีการต้อนเข้าซองบังคับ
หรือใช้เชือกคล้องบังคับให้ล้มลงแล้วมัดขาทั้ง 4 ข้างให้ติดกันอย่างแน่นหนาก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสะดวกและเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ครับ
7.ทำความสะอาดเศษดินเศษทรายตรงบริเวณที่จะตีเบอร์ให้เรียบร้อย แล้วจึงใช้ปัตตาเลี่ยนตัดขนบริเวณที่จะตีเบอร์ให้สั้น ไม่ควรใช้กรรไกรตัดขนเพราะจะทำให้ขนสั้นยาวไม่เท่ากัน แต่ในรายที่มีความชำนาญอาจใช้ใบมีดโกนแทนได้ ในกรณีที่ใช้น้ำแข็งแห้งต้องตัดขนให้เกรียน เนื่องจากน้ำแข็งแห้งมีความเย็นไม่มากเท่าไนโตรเจนเหลว ขนที่ยาวจะเป็นตัวกั้นไม่ให้ความเย็นเข้าสู่ชั้นผิวหนังได้อย่างเต็มที่
แต่ถ้าใช้ไนโตรเจนเหลวก็ให้ตัดขนพอประมาณหรือไม่ต้องตัดเลยก็ได้ เพราะถ้าหากตัดขนจนสั้นจะทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นได้รับความเย็นมากเกินไป ส่งผลให้เซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างขนถูกทำลายจนทำให้ไม่มีขนขึ้นบริเวณดังกล่าว
ต่อเลยครับ แล้วบัตเตอร์เลี้ยนนั้นใช้แบบของคนได้ไหม เพราะว่าถ้าเป็นของสัตว์จะแพงมาก
8.เอาผ้าชุบแอลกอฮอล์หรือเทแอลกอฮอล์ชโลมบริเวณที่จะตีเบอร์ให้ชุ่ม เพื่อช่วยให้ถ่ายทอดความเย็นจากโลหะไปสู่ผิวหนังได้ดีขึ้น
จากนั้นให้ประทับเบอร์ลงบนผิวหนังโคในตำแหน่งที่ต้องการ โดยให้ออกแรงกดมากพอสมควร เพื่อให้ผิวหน้าของโลหะสัมผัสกับผิวหนังอย่างเต็มที่ เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วให้ทำการปล่อยโคเป็นอันเสร็จสมบูรณ์
ระยะเวลาในการตีเบอร์นั้นขึ้นอยู่กับอายุของสัตว์และปัจจัยต่างๆ อาทิเช่น ความเย็นของโลหะตีเบอร์ ความแน่นและความปุยของขน ความแตกต่างของไขมันใต้ผิวหนัง การออกแรงกด หรือความชำนาญของตัวผู้ปฏิบัติงานเอง เป็นต้น ในกรณีที่ใช้น้ำแข็งแห้งเป็นตัวทำความเย็น เราสามารถสรุประยะเวลาที่เหมาะสมและได้ผลมากที่สุด ดังนี้
ภาคภาษาอังกฤษ
หมายเหตุ : โคที่มีขนสีขาวให้เพิ่มเวลาขึ้นจากเดิมอีกประมาณ 15 – 20 วินาที เพื่อที่จะให้ความเย็นได้ทำลายเซลล์ที่สร้างขนให้หมด บริเวณที่ถูกทำลายจะไม่มีขนคล้ายกับรอยที่ถูกตีเบอร์ร้อน ถ้าทำลายไม่หมดจะทำให้มองเห็นไม่ชัด
< ย้อนกลับ | ถัดไป > |
---|